ข่าวประชาสัมพันธ์
DPU THAI-CHINA OUTLOOK. Research Development and Innovation (RDI)
ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-จีน มีมาอย่างยาวนาน กิจกรรมความร่วมระหว่างสองประเทศจึงมีปรากฏให้เห็นกันอยู่เสมอ หนังสือ Thai-China Outlook รวบรวมทัศนคติมุมมองเกี่ยวกับไทย-จีนในปีที่ผ่านมา (2564) ฉบับนี้ ได้แบ่งออกเป็นห้าส่วนที่สำคัญ 5 ส่วน ได้แก่ 1) เศรษฐกิจจีน 2) นโยบายลดความยากจน 3) โลจิสติกส์ไทย-จีน 4) วิธกีการที่จีนจัดการโควิด และ 5) คติชนวิทยาจีน ดังจะอธิบายได้ดังนี้
ในส่วนที่ 1 จะกล่าวถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจีนในมุมมองของประเทศไทย ผ่านกระบวนการทางวิชาการ ซึ่งได้นำผ่านเสนอในหลายบทความด้วยกันเช่น สัญญานฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของปรเทศจีนหลังโควิด-19 เนื่องจากเศรษฐกิจจีน ถูกจับตามองในฐานะ “มาตรวัดเศรษกิจโลก” ช่วงหลัง Covid-19 (CNBC, 2020)1 โดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ที่ผ่านมา จีนเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่มีอัตราการเติบโต GDP เป็นบวก (+3.20 YoY: Q2/20) และมีลักษณะการฟื้นตัวแบบ V-Shape หรือมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประเทศยักษ์ใหญ่ซึ่งเป็นกำลังซื้อหลักของโลกต่างติดลบ และยังไม่พบ สัญญาณการฟื้นตัวจึงเป็นประเด็นสำคัญที่น่าจับตามองในการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของประเทศจีน
ประเด็นที่สองในด้านเศรษฐกิจของจีนมุ่งเน้นศึกษาในเรื่องเศรฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) ซึ่งเป็นคำที่ใช้กับ ผู้สูงอายุ คนที่เกิดในยุคปี พ.ศ. 2503 โดยในปัจจุบันผู้ที่เกิดในยุคปี พ.ศ. 2503 ดังกล่าว จะมีอายุจะอยู่ประมาณช่วง 60 ปี ซึ่งกำลังจะกลายเป็นประชากรสูงวัยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ด้วยความทันสมัยและก้าวล้ำของเทคโนโลยี ความก้าวหน้า ทางการแพทย์ การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นคนแก่ที่ยังไม่แก่และมีอัตราการเกิดสูงมาก เป็นพิเศษในช่วงดังกล่าว แต่คนกลุ่มนี้กำลังจะกลายเป็นประชากรที่จะทรงอิทธิพลมากที่สุด ไม่ใช่เพียงแต่ในประเทศจีนเท่านั้น แต่หมายรวมถึงประชากรที่อยู่ทั่วในทุกมุมโลก เศรษฐกิจผู้สูงวัยจะใช้กับผู้สูงอายุที่มีผมสีเงิน ที่บ่งบอกถึงวัยที่ผ่านประสบการณ์ มากมายในการใช้ชีวิต และชีวิตการทำงาน เมื่อนำ มารวมกับการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดคำใหม่ว่า เศรษฐกิจสีเงิน
ประเด็นที่สามเป็นประเด็นการค้าออนไลน์ไทยในยุคโควิด-19 เนื่องจากในปัจจุบันตลาดสินค้าและบริการเปลี่ยน จากออฟไลน์ไปเป็นออนไลน์อย่างรวดเร็ว ในระยะที่ผ่านมามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้จัดโครการ Digital DNA อบรมการค้าออนไลน์ ปักธงความสำเร็จการค้าออนไลน์กับหลักสูตร Digital DNA for Business Transformation เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยให้ปรับตัวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ส่วนที่ 2 เป็นประเด็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ ที่ทำให้นโยบายลดความยากจนของจีนประสบความสำเร็จ ประเทศจีนเริ่ม การลดความยากจนด้วยวิธีการช่วยเหลือ ประชาชนยากจนในรูปแบบสวัสดิการที่เท่าเทียมกันอย่างเป็นขั้นตอนประกอบด้วย 1) เป็นการลดความยากจนจากการปฏิรูประบบ 2) การอาศัยทรัพยากรท้อง ถิ่น พัฒนาการผลิตด้วยตัวเอง ปรับชีวิตความเป็นอยู่ ให้ดีขึ้น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมด้านชีวกายภาพคุณภาพชีวิตของประชาชนยากจนและศักยภาพโดยรวม 3) เป็นการใช้ 2 ระบบเพื่อลดความยากจนระหว่าง ค.ศ. 2008-2012 คือ ระบบการพัฒนาและระบบความช่วยเหลือเพื่อ ลดความยากจน และ 4) เป็นการลดความยากจนอย่างตรงจุด
ประเด็นที่สองที่พูดถึงในส่วนนี้ ได้กล่าวถึงการที่เศรษฐกิจของจีนที่ดีขึ้น จะทำให้คนจีนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริงหรือไม่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ ทำให้เข้าใจบริบททางเศรษฐศาสตร์ในอีกมิติหนึ่งด้วยคำกล่าวที่ว่าการที่เศรษฐกิจ ที่มีการเจริญเติบโตขึ้นอาจจะไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีดังกล่าวก็ว่าได้ จึงมีการกล่าวอ้างถึงและมีการศึกษาเพื่อให้ทราบประเด็น ในแง่มุมต่างๆ เพื่อสนับสนุนความเชื่อที่ว่าจะเกิดอัตราการลดลงของจำนวนประชากรที่ยากจน
ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับโลจิสติกส์ โดยประเด็นแรกจะพูดถึงเส้นทางที่สามารถเดินทางจากประเทศไทยเข้าไปยังประเทศจีน และการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน เป็นการเล่าเรื่องผ่านการสัมภาษณ์ผ่านอดีตท่านกงศุลใหญ่ประเทศไทย ประจำประเทศจีน ณ มณฑลยูนนาน ในข้อซักถามประเด็นเรื่องของ มณฑลยูนนานกับการค้าขายระหว่างจีนกับประเทศไทย เนื่องจากยูนนานมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน และคนไทยที่ต้องการทำการค้ากับประเทศจีน โดยเฉพาะนักธุรกิจไทย ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภาคเหนือ เนื่องจากว่ายูนนานสามารถเดินทางขึ้นไปได้โดยง่ายจากเชียงรายได้ทั้งถนนและแม่น้ำ ก็สามารถไปถึงคุนหมิง มณฑลยูนนานได้ ฉะนั้นความสำคัญของยูนนานที่เชื่อมโยงกับทางภาคเหนือของไทยมีมาแต่ช้านาน
จวบจนปัจจุบัน ทำให้เข้าใจบริบทการค้าและสถานการณ์ทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศไทยและจีนมากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สอง เป็นเรื่องเกี่ยวกับเส้นทางที่สามารถเดินทางเข้าประเทศจีน มณฑลยูนนานได้ ซึ่งประกอบไปด้วยห้า เส้นทางที่สำคัญด้วยกัน นอกจากเส้นทาง R3A หรือ R3B ที่นักเดินทางหลายท่านคงได้เคยมีโอกาสขึ้นรถผ่านจากเชียงของ ขึ้นห้วยทรายเข้าไปถึง สิบสองปันนา ทางมณฑลยูนนานแล้ว ยังมีเส้นทางอื่น ๆ รวมประมาณ 5 เส้นทาง ดังนั้น บทความนี้ จึงขอรวบรวมเส้นทางทั้ง 5 เส้นทางที่ควรทราบ เอาไว้เพื่อสามารถเลือกเส้นทางเดินทางเข้าสู่ประเทศจีน มณฑลยูนนานได้
ประเด็นที่สาม เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นเรื่องเล่าจากการสัมภาษณ์ทูตพาณิชย์ประจำกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโอกาสสำหรับนักธุรกิจจากภาคเหนือตอนบนที่ยังไม่ค่อยไปลงทุนในกัมพูชาแต่ ได้รับสัญญาณที่ดี ถึงแม้ว่ายังไม่ได้ตัดสินใจลงทุน จากช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในกัมพูชาที่อาจส่งผล ในด้านบวกกับการค้าการลงทุนกับไทยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆที่ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการลงทุน และผู้ประกอบการต้องทำการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง
ประเด็นที่สี่ เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับสะพานมิตรภาพกัมพูชา-จีน ประเทศจีนได้สร้างสะพานมิตรภาพ 8 แห่งเพื่อ ข้ามแม่น้ำที่สำคัญในประเทศกัมพูชา โครงสร้างการเดินทางที่ดีที่จำเป็น ที่จะช่วยทำให้ลดปัญหาความแออัดทางการจราจร และกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว
ประเด็นที่ห้า เป็นประเด็นเรื่องเล่าในประเทศลาวที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศจีน สปป. ลาว เป็นประเทศที่เล็ก ประชากรน้อย มีลักษณะเป็น Land Lock ไม่มีทางออกทางทะเล ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของสปป. ลาว แต่รัฐบาลก็ได้ พยายามปรับยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ GMS โดยที่สปป. ลาวมีการเชื่อมโยง (Connectivity) ในด้านการขนส่ง โลจิสติกส์กับกลุ่มประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) อันประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ โดยสปป. ลาว ได้นำประโยชน์จากจุดภูมิศาสตร์ GMS มาเป็นจุดเปลี่ยนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเปลี่ยนจาก Land Lock มาเป็น Land Link เชื่อมโยงจีนตอนใต้-เวียดนาม-ไทย-พม่า ไปถึงสิงคโปร์
ประเด็นที่หก เป็นประเด็นที่วิเคราะห์สถานการณ์โลจิสติกส์ทางน้ำของจีน ระบบการขนส่งทางน้ำของประเทศจีนถือว่ามี ประสิทธิภาพและความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก สามารถสร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับประชาชนชาวจีนอย่างมหาศาล การสมาพันธ์โสจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งประเทศจีนมีรายงานว่า ภาคธุรกิจโดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของ ประเทศจีนยังคงรักษาทิศทางการฟื้นตัว และมีผลประกอบการในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงปี 2021 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรค ระบาดใหญ่ในปี 2019 ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศจีน ระบบโลจิสติกส์ทางน้ำ ของจีนเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่สามารถลำเลียงสินค้าไปยังส่วนต่างๆได้ทั่วโลก ในส่วนของระบบโลจิสติกส์ ในประเทศจีนได้ รับความเอาใจใส่จากรัฐบาลจึงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีความเจริญอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
ส่วนที่ 4 เป็นเรื่องเกี่ยวกับจีนจัดการโควิด ในช่วงที่เกิดภาวะการแพร่กระจายอย่างรุนแรงของโควิดในระยะแรก ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง และรัฐบาลจีนได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคและลดจำนวนผู้ติดเชื้อ เช่น การรักษาระยะห่าง การตรวจอุณภูมิ การงดจัดกิจกรรม การห้ามเดินทางภายใน ประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึง มาตรการเด็ดขาดคือ“การปิดเมือง” จะเห็นได้ว่า จีนเป็นประเทศแรกของโลกที่ค้นพบผู้ติดเชื้อรายแรก อีกทั้งยังเป็น ประเทศแรกที่สามารถควบคุมการติดเชื้อรายใหม่ได้สำเร็จ หลากหลายประเทศจึงให้ความสนใจกับแนวทางการควบคุม
สถานการณ์ รวมถึงมาตรการต่างๆ ในประเทศจีนที่ประกาศใช้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ประเด็นที่สอง ได้กล่าวถึงกระบวนการที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ตอบสนองต่อการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ให้จัดศูนย์สุขภาพแห่งชาติตามนโยบาย จัดทำแผนโดยรวมสำหรับการจัดสรรสุขภาพและทรัพยากร มีการกำหนดและจัดระเบียบ มีการดำเนินการวางแผนป้องกันและควบคุมโรคระดับชาติ วางแผนการสร้างภูมิคุ้มกันและการสาธารณสุขที่จริงจัง ทั้งนี้เพื่อลดสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คน เป็นการจัดระเบียบ และสร้างการป้องกันและควบคุมด้านสาธารณสุข อย่างแท้จริง โดยหน่วยงานต่างๆ เช่น กำหนดมาตรการแทรกแซง ตอบสนองปัญหาฉุกเฉินด้านสุขภาพและการแพทย์และสุขภาพ และกู้ภัยฉุกเฉินสาธารณะต่างๆ
ประเด็นที่สาม กล่าวถึงด้านเทคโนโลยีของจีน ซึ่งจีนเผยตัวชี้วัดหลักในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่การใช้ วินิจฉัยโรคด้วยซีทีสแกนและระบบ ประมวญผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยบริษัทปัญญา ประดิษฐ์ระดับสูงของจีนได้ เพิ่มความพยายามพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเร่งรัดการตรวจสอบและเพิ่มความแม่นยำช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์ ในช่วงโควิด 3 บริษัทปัญญาประดิษฐ์แนวหน้าของจีนที่มีบทบาทสำคัญในช่วงโควิด-19
ประเด็นที่สี่ เป็นประเด็นเกี่ยวกับบทบาทภาคเอกชนของจีนที่มีต่อการต่อสู้กับโควิด-19 “ภาคเอกชนจีน” ได้ออกมาร่วมช่วยเหลือรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคทุนทรัพย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย ชุดป้องกันโควิด รวมถึงการงัดเทคโนโลยีล้ำสมัยออกมาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น บิ๊กเดต้า (Big data) อากาศยานไร้คนขับ (Drone) หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น ด้วยประสิทธิภาพและความล้ำสมัยของเทคโนโลยีจีน จึงทำให้หลายประเทศยอมรับว่า จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก ซึ่งบทความนี้มีวัตถุประสงค์จะรวบรวมบทบาทของภาคเอกชนจีน และเทคโนโลยีที่จีนได้นำมาใช้ในช่วงวิกฤติโควิด
ส่วนที่ 5 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคติชนวิทยา เนื้อเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์หนึ่งที่ศึกษาข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม และเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง เมื่อพูดถึงจีนในปัจจุบัน เรานึกถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศ สังเกตที่ชื่อของยานอวกาศ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ “นโยบายเส้นทางสายไหม” ทุนเรียนภาษาสถาบันขงจื๊อ วัฒนธรรม หรือวงการบันเทิง นอกเหนือจากนั้น ยังรวมถึงขนบหรือธรรมเนียมต่าง ๆ ของ “คน” คติชนจึงมีขอบเขต การศึกษาที่ กว้างขวาง ครอบคลุมเกือบทุกมิติทางวัฒนธรรม อีกนัยหนึ่งคติชนวิทยาเป็นการศึกษาวัฒนธรรมระดับ จิตวิญญาณ เป็นศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกับนุษยวิทยา เรื่องราวที่คติชนจะศึกษาก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มชนของคน และ คติความเชื่อของเขา โดยศึกษาข้อมูลลึกไปจนถึงวัฒนธรรมระดับจิตวิญญาณ
ทางผู้จัดทำหวังว่า บทความต่างๆ ที่รวบรวมไว้ในหนังสือทัศนคติมุมมองเล่มที่ 1 ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นี้จะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย เพื่อจะได้เห็นภาพ ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนที่มีมาอย่างยาวนาน ในแง่มุมต่างๆ และจะได้สนับสนุนงานเขียนของผู้เขียนที่ได้รวบรวมไว้ และผู้เขียนท่านอื่นๆ ที่จะได้ร่วมงานกันต่อไปในอนาคต โดยงานเขียนจะเป็นบทความที่อยู่ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีนซึ่งจะแบ่งออก เป็นสองประเด็นย่อยคือ ธุรกิจและนวัตกรรม และนโยบายที่สำคัญและเกี่ยวข้องระหว่างสองประเทศ (ไทย-จีน)