หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคาร 6 ชั้น 2 - 7 เป็น อาคารเก่า |
||||||||||||||||||
ปัญหาและสภาพอาคารเดิม ห้องสมุดไม่ใช่อาคารที่เป็นเอกเทศ ทำให้ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ และการใช้พลังงานต่างๆ จะเป็นค่าพลังงานของทั้งอาคาร เมื่อมีการวัดค่าพลังงานจึงไม่ใช่ค่าการใช้ตามที่เป็นจริงมากนัก โดยห้องสมุดมีพื้นที่การให้บริการชั้น 2 ถึง ชั้น 7 ดังนี้
ชั้น 2 Café Library พื้นที่นั่งอ่าน หนังสือนวนิยาย & เรื่องสั้น Edutainment & Digital Zone เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ห้องประชุม ขนาด 15 ที่นั่ง ห้องฝึกอบรม ห้องผู้อำนวยการ ห้องทำงานแผนกดิจิทัล & จดหมายเหตุ และ ร้านกาแฟแบล็คแคนยอน (ผู้ใช้บริการสามารถนั่งทานเครื่องดื่มและอาหารว่างได้ที่ชั้น 2 -> ขยะจากเครื่องดื่มและอาหารว่างก็จะถูกทิ้งปริมาณมากในพื้นที่ชั้นนี้) ชั้น 3 DPU Makerspace พื้นที่จัดกิจกรรม การทำผลงานต่างๆ โชว์เคส ห้อง 3D Printer ห้อง LEGO ห้อง Drone ห้องจักรปัก ห้องสตูดิโอ ห้อง Co-Working จำนวน 4 ห้อง และใช้เพื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตร DPU CORE (กรณีไม่มีการจัดกิจกรรม จะเปิดให้เป็นพื้นที่นั่งอ่าน) ชั้น 4 Learning Space พื้นที่นั่งอ่าน หนังสือภาษาไทย หนังสือภาษาต่างประเทศ หนังสืออ้างอิง วารสารฉบับย้อนหลัง ห้องทำงานแผนกบริหารทรัพยากรสารสนเทศ และ แผนกบริการและส่งเสริมการใช้สารสนเทศ ชั้น 5 Co-Working Space พื้นที่นั่งอ่าน ห้องเธียร์เตอร์ ขนาด 80 ที่นั่ง Study Room จำนวน 13 ห้อง วารสารฉบับปัจจุบัน และ มุมบริการคอมพิวเตอร์ จำนวน 60 เครื่อง ชั้น 6 ห้องสมุด ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พื้นที่ส่วนนี้มีประมาณ 10x20 เมตร ส่วนพื้นที่บริเวณอื่นจัดเป็นสำนักงานและห้องพักอาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ชั้น 7 หอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ พื้นที่จัดแสดงประวัติดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ ห้องประชุม ขนาด 250 ที่นั่ง |
||||||||||||||||||
ระบบปรับอากาศ เป็นเครื่องปรับอากาศแบบชิลเลอร์ การปรับอากาศจะดำเนินการโดย ฝ่ายอาคารสถานที่และซ่อมบำรุง และบริษัทที่ดูแลเครื่องปรับอากาศ โดยจะปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศตามอุณหภูมิภายนอก ปกติจะตั้งอุณหภูมิที่ 23-24 องศาเซลเซียส จะเปิดเครื่องปรับอากาศเวลา 08.30 น. และปิดเครื่องปรับอากาศก่อนวลาหอสมุดปิดทำการครึ่งชั่วโมง
ปัญหาที่พบในเรื่องของมลภาวะและสภาพอากาศภายในห้องสมุด เนื่องจากเป็นอาคารปิด และใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลาตั้งแต่เวลาเปิดทำการของห้องสมุด การหมุนเวียนและการถ่ายเทอากาศไม่ใคร่ดีนัก ร้านกาแฟมีการอบขนมและทำเครื่องดื่ม หลายครั้งที่มีกลิ่นอับชื้น และกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์หมุนเวียนในห้องสมุด บางวันที่อุณหภูมิภายนอกค่อนข้างร้อน ผู้เข้าใช้บริการซึ่งเป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ก็จะเข้าห้องสมุดเพื่อบรรเทาความร้อน อุณหภูมิที่ตั้งไว้ปกติ บางครั้งก็ไม่สามารถทำความเย็นได้ทั่วถึง ในขณะเดียวกัน บางวันที่อุณหภูมิภายนอกค่อนข้างเย็น หากช่างไม่เข้ามาปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ อากาศภายในห้องสมุดจะค่อนข้างเย็นจัด |
||||||||||||||||||
ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง พื้นที่โดยรวมได้มีการปรับปรุงให้ใช้หลอดไฟฟ้าเป็นหลอดผอมประหยัดไฟ และหลอด LED และได้มีการปรับปรุงให้เปิดเฉพาะส่วนใช้บริการที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นหนังสือ และชั้น 5 ที่เป็นพื้นที่นั่งอ่านของผู้ใช้บริการ ปัญหาที่พบในเรื่องของไฟฟ้าแสงสว่างภายในห้องสมุด การเปิดไฟ และการเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกันทั้งอาคารเมื่อถึงเวลาเปิดทำการในทุกวัน ทำให้การใช้ไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยค่อนข้างสูงในช่วงเวลาดังกล่าว ชั้น 3 DPU Makerspace มีการปรับปรุงเมื่อปี 2560 การเปิดปิดระบบไฟฟ้าแสงสว่างไม่เป็นไปตามพื้นที่การใช้งาน |
||||||||||||||||||
แผนงานปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Library Go Green) |
||||||||||||||||||
โครงการ 2.1 ปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่การทำงาน พื้นที่ให้บริการ และ พื้นที่จัดเก็บหนังสือ
|
||||||||||||||||||
โครงการ 2.2 ปรับปรุงระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า และ แสงสว่างในตัวอาคาร | ||||||||||||||||||
โครงการ 2.3 การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว | ||||||||||||||||||
โครงการ 2.4 หนังสือพิมพ์และนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ |