|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2562
895.911 อ493ร
อังคาร จันทาทิพย์. (2561). ระหว่างทางกลับบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ผจญภัย, 152 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : รวมบทกวีที่นำเสนอความคิดเรื่อง "บ้าน" ในหลากหลายมิติ ทั้งบ้านของผู้ประพันธ์และบ้านของผู้คนหลากหลายอาชีพหลายหลายชนชั้นในสังคมไทยและสังคมโลก บ้านจึงมีความหมายมากกว่าสถานที่เกิดและที่พำนักอาศัย แต่บ้านเป็นพื้นที่แห่งความทรงจำ ความรัก ความผูกพัน และความสุขของสมาชิกในครอบครัว
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2561
นว ว829พ
วีรพร นิติประภา. (2561). พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลายดำ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มติชน, 421 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : ความทรงจำของคน ความทรงจำของแมว ความทรงจำที่คลุมเครือ วุ่นวิ่น จนแทบไม่อาจจำแนกรู้ได้ว่า เราอยู่ในโลกจริงหรือสมมุติ ประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองซัดพาให้ชีวิต ความรัก ต้องระหกระเหินเกินบรรยาย ครอบครัวจีนอพยพที่พยายามตามหา "บ้าน" ทั้งในความหมายของสถานที่และบ้านภายในจิตใจ ซึ่งตัวละครต่างรู้สึกในทางเดียวกันว่า ไม่อาจหยัดยืนอย่างเต็มตัวในพื้นที่ใดๆ ได้ จะเดินต่อก็แปลกแยกจะหวนกลับก็ไม่อาจย้อนคืน
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2560
รส จ391ส
จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท. (2561). สิงโตนอกคอก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : แพรว, 226 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เรื่องสั้นชุดนี้เป็นเรื่องสั้นแนวแฟนตาซีที่ให้ภาพเปรียบเทียบสังคมมนุษย์โลกในเชิงชวนให้นึกย้อนถึงระบอบการปกครองของคนในสังคมบางประเทศที่มีทั้งความเหมือนและแตกต่าง มีความเหมือนในแง่อำนาจหน้าที่ เรื่องของความรู้ที่ได้จากหนังสือ เรื่องของความเชื่อ เรื่องของความรัก ความศรัทธา ความกล้าหาญ และเรื่องของการตั้งคำถามต่อมาตรฐานคุณธรรม ความดีความเลว และความรุนแรงจากสงคราม
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2559
895.911 พ453น
พลัง เพียงพิรุฬห์. (2560). นครคนนอก. พิมพ์ครั้งที่ 2. สกลนคร : นิดจะศิลป์, 195 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : นครคนนอก เป็นกวีนิพนธ์ กล่าวถึงภาพเมืองที่มีการปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้คนกับกระแสคลื่นโซเชียล ให้ภาพการเปลี่ยนถ่ายจากวัฒนธรรมเก่าไปสู่วัฒนธรรมใหม่อย่างฉับพลัน ทั้งยังแสดงวิถี และทัศนะของผู้คนในตรรกะที่เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมไทยที่ผ่านมา รวมถึงความไม่เป็นธรรมทางการเมืองบางประการ ในทางกลับกันยังคงมีชีวิตของคนบางกลุ่มที่ยังดำเนินวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข โดยไม่เกี่ยวข้องกับโซเชียลเน็ตเวิร์กที่กำลังถาโถมเข้าสู่ผู้คนทุกหมู่เหล่า
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2558
นว ว829ส
วีรพร นิติประภา. (2556). ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต. กรุงเทพฯ : มติชน, 256 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายที่เต็มไปด้วยศัทพ์แสงสัญลักษณ์ในทุกฉากตอน ฉาบซ่อนในเรื่องรักสามเส้าแสนธรรมดา ปรุงรสด้วยเสน่ห์รายละเอียดของความร่วมสมัยผ่านบุคลิก รสนิยม และการดำเนินชีวิตของตัวละครเรื่องนี้ ถ้าจะอ่านเอารส ก็เพลินใจไปกับลีลาการใช้ภาษาที่ลื่นไหลด้วยวรรณศิลป์งดงาม ฉายให้เห็นชะตาชีวิตของผู้คนอย่างเราๆ ท่านๆ ที่มีชีวิตอยู่กับความรัก ผิดหวัง กำพร้า แสวงหา ความจำเสื่อม บ้าอยู่กับการหลอกตัวเองและคนอื่น เพื่อรอให้จุดจบมาถึงในวันหนึ่ง
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2557
รส ด956อ
แดนอรัญ แสงทอง. (2557). อสรพิษและเรื่องอื่นๆ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สามัญชน, 383 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : รวมเรื่องสั้น 12 เรื่อง เสนอการต่อสู้ในสองระดับ ทั้งการต่อสู้ภายในจิตใจมนุษย์กับกิเลสต่างๆ และการต่อสู้กับกระแสความคิดความเชื่อที่ครอบงำสังคม ผ่านมุมมอง น้ำเสียง สำเนียงภาษาที่แตกต่าง และรูปแบบการเล่าเรื่องอันหลากหลาย เช่น วรรณกรรมแนวพาฝัน วรรณกรรมสยองขวัญ เป็นต้น ทำให้ผู้อ่านครุ่นคิดถึงอำนาจของชะตากรรมและความยิ่งใหญ่แห่งพลังศรัทธา
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2556
895.911 อ493ห
อังคาร จันทาทิพย์. (2556). หัวใจห้องที่ห้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ผจญภัยสำนักพิมพ์, 173 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : หัวใจห้องที่ห้า นำเสนอเรื่องเล่าโดยจำลองวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งชุมชนจนถึงสังคมร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมือง ซึ่งประกอบไปด้วย คนไร้บ้าน คนพลัดถิ่น คนกลุ่มน้อย โดยเชื่อมโยงเรื่องเล่าในอดีตกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งล้วนระทมทุกข์ นำเสนอการปะทะสังสรรค์ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2555
นว ว661ค
วิภาส ศรีทอง. (2555). คนแคระ. กรุงเทพฯ : สมมติ, 437 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายที่นำเสนอเรื่องราวแห่งโลกปัจจุบัน ที่ขับเคลื่อนไปด้วยความไร้เหตุผล มีแต่เพียงจิตใต้สำนึกที่เป็นแรงผลักดัน เป็นเรื่องราวเสนอปัญหาสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ หมกหมุ่นอยู่กับปัญหาของตนเอง สิ่งที่มนุษย์กระทำต่อกันปราศจากคำอธิบายไม่มีศีลธรรมจรรยาใด ๆ และหาทางสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตัวเอง
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2554
รส จ133ด
จเด็จ กำจรเดช. (2554). แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ. กรุงเทพฯ : Pajonphai, 403 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : “แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ” เป็นรวมเรื่องสั้น 12 เรื่อง ที่ทำให้เรามองสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยดวงตาที่เปลี่ยนไป เรื่องสั้นเหล่านี้แม้จะดูหนักหน่วงมีมติที่ซับซ้อน มีมุมมองที่แปลกต่าง หากแต่มีความหมายอันน่าพินิจ นักเขียนเน้นเล่าเรื่องอย่างมีชั้นเชิงอย่างซ่อนเงื่อน ซ่อนปม กำกับบาทบาทความคิดอย่างมีศิลปะ ในการเรียงร้อยและจัดวางจังหวะถ้อยคำและข้อความ เรื่องราวที่มีลีลาเชิงอุปลักษณ์ ประชด ประชัน ยั่วล้อ การละเล่นกับความแปลกประหลาด ความชำรุดของสังคมและปรัชญาที่แฝงอยู่ ลงไปถึงรายละเอียดของอารมณ์มนุษย์ ภายหลังเผชิญความโศกเศร้าและหายนะ เผชิญชะตากรรมที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ เนื้อหาแต่ละเรื่อง เรียกอารมณ์ และวิธีการมองโลก กระตุ้นให้คิดตามและคิดต่อ
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2553
895.911 ซ119ม
ซะการีย์ยา อมตยา. (2553). ไม่มีหญิงสาวในบทกวี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : 1001 ราตรี, 93 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นกวีนิพนธ์ ที่นำเสนอแนวความคิดเพื่อการดำรงอยู่และการดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขที่ผสมผสาน วรรณศิลป์ ปรัชญา และศิลปะเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ประกอบด้วยเนื้อหาหลากหลายมิติ ตั้งแต่ปัจเจกบุคคล จนถึงระดับสังคม ไม่ผูกติดกับยุคสมัย ไม่มีพรมแดน ข้ามมิติเวลา และมิติพื้นที่ มีความลุ่มลึก กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ ขบคิดและคิดต่อ โดยแต่งด้วยกลอนเปล่า ซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่ไร้ฉันทลักษณ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน สร้างจินตนาการให้ผู้อ่านเกิดภาพ ในขณที่กำลังอ่านบทกวี
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2552
นว อ824ล
อุทิศ เหมะมูล. (2552). ลับแลแก่งคอย. กรุงเทพฯ : แพรว, 444 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : “ลับแล แก่งคอย” เป็นนวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องราวที่มีมิติอันซับซ้อนในตัวตนของลับแล วงศ์จูเจือ เด็กหนุ่ม วัยคะนอง ซึ่งมีพฤติกรรมต่อต้านพ่อเลี้ยงของตนเอง อีกทั้งยังมีพฤติกรรมแปลกประหลาด ลับแลจึงถูกนำตัวไปรักษายังวัดป่าแห่งหนึ่ง ลับแลอยู่ในความดูแลของท่านเจ้าอาวาส ซึ่งเจ้าอาวาสมักจะให้ลับแลระบายความในใจและบอกเล่าประวัติความเป็นมาของตนเอง และครอบครัวตลอดหลังทำวัตรเย็นในทุกๆ วัน ซึ่งเป็นบทสรุปและจุดหักเหของเรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้น นิยายเล่มนี้ การสื่อสารผ่านตัวอักษรของเนื้อเรื่อง ทำให้ผู้อ่านเข้าถึงแก่นแท้ของตัวละคร ราวกับว่าพวกเขามีตัวตนอยู่จริง อาจเป็นเพราะ ผู้ประพันธ์พื้นเพเดิมเป็นคนแก่งคอย ทำให้บรรยายรากเหง้า ชาติพันธุ์ลักษณะภายในชุมชน สังคม ความเชื่อ เรื่องเล่า คำสอนทางศาสนา และวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น จากยุคอดีตและปัจจุบันบางส่วน รวมถึงวัตรปฏิบัติของสงฆ์ได้อย่างถึงแก่นแท้ยิ่งนัก
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2551
รส ว382ร
วัชระ สัจจะสารสิน. (2551). เราหลงลืมอะไรบางอย่าง. กรุงเทพฯ : นาคร, 238 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เราหลงลืมอะไรบางอย่าง เป็นรวมเรื่องสั้นสิบสองเรื่องที่กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมและความเป็นไปของเหตุการณ์บ้านเมืองที่ทันสมัยในเชิงให้รายละเอียด นักเขียนเน้นความเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกของผู้คนทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง ที่ถูกกลายกลืนดวยความเจริญของสังคมเมือง จากความละเมียดละไม ไปสู่ความหยาบกระด้างและในที่สุดความรู้สึกแบบสังคมเมืองก็ครอบคลุมสภาพจิตใจของชนบทไว้ได้อย่างสิ้นเชิง นักเขียนยังเลือกที่จะท้าทายอำนาจรัฐ ด้วยการตั้งคำถามบางประการผ่านตัวละครวิกลจริต นำเสนอภาพเมืองที่สกปรกเต็มไปด้วยสารพันปัญหา รวมทั้งมลพิษและอาหารขยะด้วยเรื่องเล่าของคนเก็บขยะ กล่าวได้ว่ารวมเรื่องสั้นชุดนี้โดดเด่นด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องในแบบเฉพาะตน คือตั้งคำถามกับปัญหาในลักษณะที่เป็นปัญญาชน นำเสนอสัญญะในเชิงเปรียบเทียบเว้นจากการสรุปหรือแนะทางออกด้วยการเปิดปลายให้ผู้อ่านขบคิดต่อคำถามเหล่านั้นเอาเอง
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2550
895.911 ม152ล
มนตรี ศรียงค์. (2551). โลกในดวงตาข้าพเจ้า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สามัญชน, 142 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : โลกในดวงตาข้าพเจ้า ของมนตรี ศรียงค์ เป็นบันทึกภาพความเคลื่อนไหวในชุมชนเล็กๆ ผ่านดวงตาพิเศษของกวี ด้วยมุมมองเฉพาะตัวที่โดดเด่น ผสมผสานกับการย้อนรำลึกเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนที่ผ่านมาในชีวิต สามารถทำให้เรื่องที่เป็นรูปธรรมเหล่านั้น โยงไปสู่ภาพสังคมโดยรวมได้ โดยถ่ายทอดไว้ในบทกวี ที่สรรหาคำ และการเรียบเรียงลำดับภาพความคิดด้วยชั้นเชิงทางวรรณศิลป์
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2549
นว ง337ค
งามพรรณ เวชาชีวะ. (2549). ความสุขของกะทิ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ :แพรว, 118 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายขนาดสั้น เล่าเรื่องราวของกะทิ เด็กหญิงวัย 9 ขวบ ที่อยู่ในสังคมแบบชนบทที่ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายและสงบสุข ซึ่งเป็นชีวิตอย่างที่ผู้คนจำนวนมากในเมืองต่างก็โหยหา แต่กะทิต้องผ่านประสบการณ์การสูญเสียครั้งสำคัญที่สุด เมื่อแม่ต้องจากไปก่อนวัยอันควรกะทิ ได้ผ่านขั้นตอนความสุขและทุกข์ ความผูกพันและการพลัดพราก ความสมหวังและการสูญเสียถึงกระนั้น กะทิได้เรียนรู้ว่าความทุกข์จากการสูญเสีย ไม่อาจพรากความสุขจากความรักและความผูกพัน ของแม่กับเธอได้ เด็กน้อยเติบโตขึ้นจากประสบการณ์นี้ด้วยความเชื่อมั่นและกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปจากบุคคลใกล้ชิด ผู้ที่เธอรักและรักเธอ ความสุขของกะทิ เป็นนวนิยายที่สื่อแนวคิดซึ่งเป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้อ่านที่หลากหลายไม่ว่าอยู่ในวัยและวัฒนธรรมใด โดยสอดแทรกความเข้าใจชีวิตของตัวละครที่ได้เรียนรู้ไปตามประสบการณ์ ความสะเทือนอารมณ์จะค่อยๆ พัฒนาดิ่งลึกในห้องนึกคิดของผู้อ่าน นำพาให้ผู้อ่านอิ่มเอมกับรสแห่งความโศกอันเกษมที่ได้สัมผัสประสบการณ์ของชีวิตเล็กๆ ของเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2548
รส บ331จ
บินหลา สันกาลาคีรี. (2548). เจ้าหงิญ. กรุงเทพฯ : มติชน, 127 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : “เจ้าหงิญ”เป็นรวมเรื่องสั้น 8 เรื่องอาจอ่านแยกกันเป็นเรื่องๆ แต่ด้วยการเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ทำให้เรื่องสั้นแต่ละเรื่องกลายเป็นเรื่องสั้นในเรื่องยาว เป็นนิทานซ้อนนิทานที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน ผู้ประพันธ์สร้างตัวละครหลากหลาย ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ แบบนิทานเปรียบเทียบที่อุดมด้วยสีสันรวมทั้งการเล่นคำ โดยเฉพาะชื่อ “เจ้าหงิญ”ที่สื่อความหลายนับ และอารมณ์ขัน มีลีลาภาษาที่รุ่มรวยด้วยโวหาร เร้าจินตนาการและความคิด
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2547
895.911 ร769ม
เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. (2547). แม่น้ำรำลึก. กรุงเทพฯ : รูปจันทร์, 107 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นกวีนิพนธ์ที่นำเสนอภาพชีวิตของการย้อนความคิดของชายชรา กลับไปสู่ชีวิตช่วงในวัยเยาว์ โดยรำลึกย้อนผ่านสถานที่ ผู้คน เหตุการณ์และสรรพสิ่งรอบตัวให้ภาพที่สร้างขึ้นจากจินตนาการและประสบการณ์ เป็นบทกวีเล่าถึงเรื่องราวของความฝัน ความจริง ความสุข ความขัดแย้งที่กลมกลืนกัน มีเอกภาพ มีภาพชีวิตในวัยเยาว์เป็นปฐมบท และสรุปปิดฉาก ในปัจฉิมบท ซึ่งเป็นภาพของชายชราบนเก้าอี้โยกริมระเบียงที่บ้านชายน้ำในเวลาพลบค่ำ
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2546
นว ด937ช
เดือนวาด พิมวนา. (2546). ช่างสำราญ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สามัญชน, 231 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายแสดงภาพชีวิตของเด็กบ้านแตกคือเด็กชายกำพล ช่างสำราญ ที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในชุมชนห้องแถวคุณแม่ทองจันทร์ เพราะแม่มีชู้ พ่อหอบน้องเงียบหายไป กำพลต้องกลายเป็นเด็กจรจัด เข้าบ้านโน้นออกบ้านนี้ มีผู้ปกครองหลายคน ดังนั้นเนื้อหาของเรื่องส่วนหนึ่งจึงเป็นเรื่องของชาวบ้านที่ชอบยุ่งเรื่องของเพื่อนบ้าน แต่ความเป็นจริงแล้ว ลักษณะนี้เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมไทยแม้จะเป็นการยุ่งสอดรู้สอดเห็น แต่ก็แฝงไปด้วยความเอื้ออาทรที่มีต่อเด็กชายคนนี้
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2545
รส ป448ค
ปราบดา หยุ่น. (2545). ความน่าจะเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุดสัปดาห์, 201 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : “ความน่าจะเป็น”เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องสั้นของปราบดา หยุ่น ถือเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง จำนวนไม่กี่คนที่มองโลกในมุมกลับ เขาใช้เวลาในช่วงที่เว้นวรรคจากการทำงานด้านศิลปะ มาคิดประดิดประดอยตัวหนังสือ เขียนภาพผู้คนและสังคมในจินตนาการออกมาด้วยสำนวนภาษาลุ่มลึก หากกวนอารมณ แสบๆ คันๆ คล้ายโดนตัว “คุ่น”กัด ปราบดา เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่กล้ายิงคำถามพร้อมตั้งคำถามไว้มากมายที่คนทั่วไป ไม่เคยถามแต่ละคำถามเป็นคำถามที่ผู้คนไม่เคยคิดที่จะตอบ แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนช่างคิด คิดในมุมมองที่แตกต่างไปจากคนอื่น จนทำให้รู้สึกว่าทุกคำถาม จากแง่คิดของเขาล้วนมี “ความน่าจะเป็น”ทั้งสิ้น “ปราบดา หยุ่น”เป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ เหมือน 1 ในจำนวน 13 เรื่องสั้น ทั้ง 13 เรื่องนี้ ที่เขาเขียนไว้ว่า “อย่าเชื่อคำที่ออกมาจากปากคนอื่นจนเกินไปนัก เพราะมันไม่ตรงกับความเป็นจริง”
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2544
นว ช826บ
โชคชัย บัณฑิต. (2547). บ้านเก่า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : รูปจันทร์, 119 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : บ้านเก่า เป็นหนังสือที่รวมบทกวีนิพนธ์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนในชนบทที่กำลังเปลี่ยนไปพร้อมกระแสบริโภคนิยมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท รวมถึงคุณค่าทางจิตใจและคุณค่าทางวัตถุ ที่กำลังเป็นปัญหาหลักที่สำคัญ โดยผ่านทางบทกวีที่สะท้อนสภาพสังคม และการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้แต่งได้พบเห็นมาโดยเปรียบเสมือนภาพบ้านหลังเก่าๆ ที่ค่อยๆ เลือนหายไปเนื่องจากกระแสบริโภคนิยมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เข้ามาแทนที่ ซึ่งผู้แต่งได้สื่อสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านบทกวีได้อย่างชัดเจน
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2543
นว ว663อ
วิมล ไทรนิ่มนวล. (2548). อมตะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. ปทุมธานี : สยามประเทศ, 222 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : อมตะ เป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่สมมุติเรื่องในอนาคต โดยแบ่งตัวละครเป็น 2 ฝ่าย 2 ทัศนะ ตัวละครฝ่ายหนึ่งเชื่อมั่นในหลักปรัชญาแห่งวิทยาศาสตร์วัตถุนิยมว่าสามารถเป็นวิถีให้มนุษย์ไปสู่ความเป็นอมตะได้ด้วยวิธี “โคลนนิ่ง”ส่วนตัวละครอีกฝ่ายหนึ่งเชื่อมั่นในหลักปรัชญาแห่งศาสนาตะวันออก ว่าจะเป็นวิถีนำพามนุษย์ไปสู่ความเป็นอมตะได้ด้วยวิธี “วิปัสสนา”โดยการนำเสนอเรื่องของนักธุรกิจที่อยากอยู่ได้อย่างอมตะ จึงทำ “โคลน”มนุษย์ไว้ เป็นอะไหล่ของเขาเอง เมื่อส่วนใดเสื่อมก็ผ่าตัดเปลี่ยนเอาใหม่จาก “โคลน”ของเขาเอง เป็นการผูกปมให้ชวนติดตามด้วยความใคร่รู้ ทั้งเนื้อเรื่องและประเด็นวิวาทะ และการใช้ปรัชญาพุทธศาสนาเหมือนกับจะฉุดรั้งความคิดของคนสมัยใหม่ ที่ใช้ชีวิตในโลกยุคที่ยึดมั่นถือมั่นแต่วัตถุ เพราะความทันสมัยของเทคโนโลยี ให้กลับมาคำนึงถึง เรื่อง “ชีวิตจิตใจ”ซึ่งเป็นหัวใจของตัวตนมนุษย์
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2542
รส ว617ส
วินทร์ เลียววาริณ. (2542). สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ดับเบิ้ลนายน์ พริ้นติ้ง, 334 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : รวมเรื่องสั้นที่ผู้เขียนเสนอแนวคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นคน ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป อันเป็นผลจากปัจจัยภายในและภายนอกตามสภาวะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม งานเขียนแบ่งเป็นสองส่วน คือ บทความและเรื่องสั้นที่นำเสนอเนื้อหาด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถสื่อเรื่องราวและความคิดที่ซับซ้อน ลึกซึ้งด้วยอรรถรสที่สร้างอารมณ์และความรู้สึกที่กระตุ้นให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงปัญหาและเข้าใจแง่มุมต่างๆ ของพฤติกรรมมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2541
895.911 ร913น
แรคำ ประโดยคำ. (2541). ในเวลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: รูปจันทร์, 125 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นกวีนิพนธ์ที่แสดงความคิดแหลมคมด้วยเนื้อหาหลากหลาย นำเสนอความคิดอันเป็นสากล เป็นอกาลิโก และมีสุนทรีย์รสแห่งวรรณศิลป์ แม้บทกวีกล่าวถึงสิ่งธรรมดาสามัญใกล้ตัว แต่ด้วยชั้นเชิงการประพันธ์และความละเอียดซับซ้อน ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายนัย ในเวลา จึงเป็นบทกวีที่ชวนให้อ่านอย่างไตรตรอง ผู้อ่านสามารถเข้าใจ เข้าถึงและประจักษ์ในคุณได้ของสารที่ผู้เขียนนำเสนอ
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2540
นว ว617ป
วินทร์ เลียววาริณ. (2537). ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า,435 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายบันทึกเหตุการณ์จริงตามประวัติศาสตร์ในระหว่างเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 จนถึงพุทธศักราช 2535 เสมือนกระจกเงาบานใหญ่ที่สะท้อนภาพกงล้อการเมืองไทยในช่วงหกสิบปีที่ผ่านมา แนวคิดประชาธิปไตยที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุค ดุจดั่งเส้นตรงสองเส้นที่วิ่งขนานกัน ทำให้เกิดคำถามว่า จะมีบ้างไหมที่สักวันหนึ่งมันจะเบี่ยงตัวรวมเป็นเส้นเดียวกัน เพื่อความมั่นคงของประชาธิปไตยที่ชาวไทยทุกคนปรารถนา
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2539
รส ก124ผ
กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. (2539). แผ่นดินอื่น. ปทุมธานี : นาคร, 376 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นประกอบด้วยเรื่องสั้น 8 เรื่อง สะท้อนปัญหาของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคม นำเสนอชีวิตหลากหลายด้วยแนวธรรมชาตินิยมสะท้อนความคิด ความเชื่อ คุณค่าและคตินิยมพื้นถิ่นอย่างลึกซึ้งและแหลมคม ชี้ให้เห็นว่าสังคมแม้ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อมนุษย์ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไมตรีสัมพันธ์ เป็นเรื่องสั้นที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2538
895.911 พ994ม
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2538). ม้าก้านกล้วย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : แพรว, 136 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนให้เห็นพลังชีวิตและจิตใจของคนชนบท ที่เข้ามาสู่เมือง เป็นความผูกพันของผู้เขียนที่ยังไม่ลืมถิ่นเก่าบ้านเกิด จึงเป็นสารถีขี่ม้าก้านกล้วยหนีโลกแห่งความแออัดแบบวิถีเมืองสู่โลกแห่งความงามธรรมชาติแบบวิถีชนบท
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2537
นว ช516ว
ชาติ กอบจิตติ. (2537). เวลา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: หอน, 232 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายที่เสนอเรื่องราวและแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย โดยในเรื่องมีตัวละครซึ่งเป็นผู้กำกับการแสดง เข้าไปนั่งดูละครเวทีเรื่องหนึ่งที่ได้เชื่อว่าน่าเบื่อในรอบปี ซึ่งเน้นละครเวทีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานสงเคราะห์คนชราในโรงพักฟื้น เป็นการดำเนินชีวิตของคนชราที่อาศัยอยู่ที่นั่น โดยมีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย มีเสียง “ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจริง”ดังจากห้องปริศนามาเป็นระยะเป็นปริศนาที่ให้ผู้อ่านคิดว่าห้องนั้นมีอะไร เรื่องราวดำเนินมาเรื่อยๆ จนมีตัวละครที่เป็นคนชราคนหนึ่งตาย ชื่อก็คือยายอยู่ ซึ่งแก่ตายอย่างสงบ ซึ่งการตายของแกเป็นการทำให้เรื่องราวเดินมาถึงจุดจบ เป็นการเฉลยห้องปริศนานั้น เมื่อเปิดห้องก็ไม่พบอะไรเลยกลับเป็นห้องว่างเปล่า ไม่มีเครื่องใช้ของใช้ที่ยืนยันว่าเคยมีคนอยู่เลย เป็นการจบเรื่องแบบให้ผู้ใด ได้คิดเองว่าห้องว่างเปล่านั้นคืออะไร
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2536
นว ศ536ค
ศิลา โคมฉาย. (2536). ครอบครัวกลางถนน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร, 143 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่สะท้อนภาพชีวิตของคนชั้นกลางในเมืองหลวงที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนท่ามกลางความผันแปร ของสังคมปัจจุบัน การเผชิญปัญหาครอบครัว การเมืองและเศรษฐกิจ ในเล่มนี้มีเรื่องสั้น 13 เรื่อง ส่วนใหญ่แสดงภาพชีวิตและสังคมรอบตัวที่กระตุ้นให้ผู้อ่านสำนึกถึงบทบาทของตนในฐานะสมาชิกของสังคม รวมทั้งการนำปัญหาหลากหลายแง่มุมมาผูกร้อยเป็นเรื่องราว เช่น การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ความสัมพันธ์และความขัดแย้งของคนในครอบครัว ความเครียดที่ถูกสังคมบีบคั้นและเร่งรัด และความกดดันรุนแรงที่ไม่มีทางออก
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2535
นว ศ332ม
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ. (2535). มือนั้นสีขาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ย่ามหนังสือ, 80 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : รวมบทกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ ที่สร้างสรรค์ทั้งความคิดและวิธีการนำเสนอ มุ่งแสดงอุดมคติอันเชิดชู คุณค่า ความบริสุทธิ์และความมีน้ำใจของมนุษย์ กวีถ่ายทอดความคิดเป็นรูปธรรมที่เข้าใจได้ง่าย ผ่านบุคคลและเหตุการณ์สมมติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในชีวิติจริงและสังคมจริง แสดงความแตกต่างระหว่างสภาวะอันบริสุทธิ์ไม่แสแสร้งของเด็กกับสภาวะของผู้ใหญ่ที่ถูกครอบงำด้วยกรอบของสังคมในแต่ละบทกวี เสนอแง่ความคิดอย่างประณีต
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2534
นว ม495จ
มาลา คำจันทร์. (2532). เจ้าจันท์ผมหอมนิราศพระธาตุอินทร์แขวน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณาธร, 109 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าหญิงล้านนา ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาถิ่น เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้องเรื่อง และผู้เขียนได้บอกความหมายของคำเหล่านั้นไว้ด้วยเนื้อเรื่องกล่าวถึงเจ้าจันท์ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้เดินทางไปนมัสการพระธาตุอินทร์แขวนพร้อมกับคู่หมั้นที่จะต้องแต่งงานกัน ระหว่างการเดินทางเจ้าจันท์ครวญถึงเจ้าหล้าอินทะ ซึ่งเป็นคู่รักด้วยความคิดถึง จุดประสงค์ของเจ้าจันท์ ในการเดินทางไปนมัสการพระธาตุอินท์แขวนในครั้งนี้ นอกจากจะเพื่อตัดผมหอมที่บำรุงรักษามาห้าปีถวายบูชาพระธาตุปีเกิดแล้ว ยังตั้งใจจะปูผมหอมลอดพระธาตุและตั้งจิตบนพระธาตุว่าหากผมหอมนี้ปูลอดพระธาตุได้ นางจะกลับไปหาคนรัก หากปูลอดพระธาตุไม่ได้นางจะแต่งกับพ่อเลี้ยงซึ่งเป็นคู่หมั้น สุดท้ายเมื่อผมลอดไม่ได้เจ้าจันท์จึงได้ปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุนั้น แล้วตัดสินใจแต่งงานกับชายที่ไม่ได้หมายปอง
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2533
รส อ526อ
อัญชัน. (2536). อัญมณีแห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ภูผา, 239 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : หนังสือ “อัญมณีแห่งชีวิต”เป็นเรื่องสั้นชุดประกอบด้วยเรื่องสั้น 11 เรื่อง เนื้อเรื่องมีหลากหลาย เสนอปัญหาต่างๆ ของชีวิต ตั้งแต่ปัญหาชีวิตส่วนตัว ปัญหาครอบครัว สังคม จนถึงปัญหาที่กล่าวถึงวัฏจักรแห่งชีวิตอันเป็นสัจธรรมในการดำเนินชีวิต
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2532
895.911 จ517บ
จิระนันท์ พิตรปรีชา. (2532). ใบไม้ที่หายไป. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : อ่านไทย, 91 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : กวีนิพนธ์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเชิงบันทึกของชีวิตตอนหนึ่งของผู้ประพันธ์ระหว่าง พ.ศ. 2513-2529 ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาวัยรุ่นกลุ่มก้าวหน้ามีอุดมการณ์สูงสุด มีความใฝ่ฝัน มีปรัชญาชีวิต จวบจนกระทั่งได้ตระหนักถึงความจริงของชีวิตที่ว่าทุกชีวิตต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังเช่นชีวิตของผู้เป็นแม่นั้น ไม่เพียงกำหนดอนาคตของลูกเท่านั้น หากรวมทั้งชีวิตตนเองและผู้ใกล้ชิด
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2531
นว น553ต
นิคม รายยวา. (2528). ตลิ่งสูงซุงหนัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ต้นหมาก, 192 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายที่ให้ข้อคิดและความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของควาญช้างที่มีฐานะยากจน ชื่อคำงาย ซึ่งคำงายนั่นทำงานให้กับพ่อเลี้ยง โดยเป็นควาญช้างลากซุง และแกะสลักไม้ ตอนที่คำงายยังเด็ก อยู่กับพ่อของเขามีช้างเชือกหนึ่งชื่อว่า “พลายสุด”คำงายรักพลายสุดมาก ต่อมาด้วยความยากจนพ่อจึงจำเป็นต้องขายพลายสุดให้กับพ่อเลี้ยง คำงายจึงหวังเสมอว่าเมื่อโตขึ้นจะต้องซื้อพลายสุดคืนมาให้ได้ พอโตขึ้นคำงายมีภรรยาชื่อมะจัน และลูกชายชื่อ เอ และได้เข้าทำงานกับพ่อเลี้ยง พ่อเลี้ยงให้คำงายทำงานเกี่ยวกับสตัฟฟ์ซากสัตว์ แต่คำงายขออนุญาตไปเป็นควาญช้างลากซุง ซึ่งคำงายมีความสุขที่ได้ทำงานกับพลายสุด ต่อมาพลายสุดได้โดนลักตัดงาทั้งสองข้างไป พ่อเลี้ยงได้เสนอให้คำงายแกะสลักช้างจากไม้ให้มีขนาดเท่ากับช้างของจริง เพื่อแลกกับการไถ่ตัวพลายสุด แต่ทั้งคำงายและพลายสุดได้มาจบชีวิตลงในขณะที่ทั้งคู่กำลังขนซุงขนาดใหญ่ พลายสุดได้พลาดตกจากตลิ่งสูง ทั้งคู่เสียชีวิตพร้อมกัน ผู้เขียนต้องการเน้นให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่มักแสวงหาความหมายและคุ่ณค่าของชีวิตและพบว่าทุกคนมีเกิดและตายอย่างละหนึ่งหน แต่สิ่งที่อยู่ระหว่างกลางนั้นเป็นชีวิต เราต้องแสวงหาเอาเอง
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2530
รส พ975ก
ไพฑูรย์ ธัญญา. (2533). ก่อกองทราย. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : นาคร, 175 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : รวมเรื่องสั้นทั้งหมด 12 เรื่อง เนื้อเรื่องมีลักษณะที่แสดงถึงชีวิตและธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสากล แต่ก็มีสีสันของท้องถิ่นและความเป็นไทย ทั้งในด้านถ้อยคำและการใช้ฉากที่เป็นท้องเรื่องมีความหลากหลาย แสดงปัญหาและแง่มุมต่างๆ ของชีวิตความคิดความเชื่อของคนในชนบท และบางเรื่องก็แสดงถึงสัจธรรมของชีวิตโดยแท้
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2529
895.91 อ493ป
อังคาร กัลยณพงศ์. (2529). ปณิธานกวี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กะรัต, 126 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : กวีนิพนธ์เล่มนี้จะพาให้คุณได้สัมผัสกับความงามทางการประพันธ์ บทประพันธ์ทุกบทสะท้อนชีวิต วิญญาณ คติชีวิต ปรัชญา และสัจธรรม ที่ชี้ให้เห็นถึงการยึดหลักทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องนำทางชีวิต การรู้แจ้งในความจริง การปล่อยวาง และการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว โดยที่ผู้เขียนได้นำแนวคิดเหล่านี้มาสอดแทรกร้อยเรียงเป็นบทกวี ที่ให้ผู้อ่านได้ซึมซับอย่างแยบยล
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2528
นว ส739ป
กฤษณา อโศกสิน. (2525). ปูนปิดทอง. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2 เล่ม.
บรรณานิทัศน์ : “ปูนปิดทอง”เป็นนวนิยายสะท้อนปัญหาครอบครัวในสังคมไทย ซึ่งตัวละครเอกคือ สองเมืองและบาลี ทั้งสองคนเกิดมาในครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้าง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ บาลีศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยเด็กและชักจูงให้สองเมืองลืมความขมขื่นในใจที่ผ่านมาและมาเริ่มต้นชีวิตกันใหม่ สองเมืองรักบาลีและมั่นใจว่าชีวิตคู่ของเขาและเธอจะไม่เป็นอย่างพ่อกับแม่ของพวกเขา พวกเขาจะเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ใช่เป็นเพียงรูปหล่อปูนที่ปิดด้วยทอง ซึ่งไม่มีค่าอะไร
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2527
รส ว457ซ
วาณิช จรุงกิจอนันต์. (2527). ซอยเดียวกัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อู่พิมพ์เพกา, 272 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : รวมเรื่องสั้น “ซอยเดียวกัน”เป็นผลงานที่ผู้เขียนคัดสรรมา จำนวน 15 เรื่อง และบทกวีนิพนธ์ 1 ชุด มีจำนวน 5 เรื่องย่อย เรื่องสั้นที่รวมอยู่ในซอยเดียวกันนี้ มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตในสังคมได้อย่างโดดเด่น นอกจากเรื่อง “ภาพเขียนที่หายไป”ซึ่งผู้เขียน เขียนในปี 2514 และ “นิธิแกนเทสต์”ซึ่งเขียนในปี 2517 แล้ว นอกนั้นเป็นเรื่องที่เขียนระหว่างปี 2521-2526 และบทกวีชุดคืนรัง เป็นบทกวีที่เขียนลงพิมพ์ในหนังสือหลายฉบับ และหนังสือที่ตั้งว่า “ซอยเดียวกัน”นั้นมาจากชื่อเต็มว่า “บ้านเราอยู่ในนี้ ซอยเดียวกัน”เรื่องสั้นเกือบทุกเรื่องที่นำมารวมไว้นี้ เป็นที่กล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ทั้งแง่ดีและไม่ดี
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2526
895.911 ค147น
คมทวน คันธนู. (2526). นาฏกรรมบนลานกว้าง. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, 99 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นกวีนิพนธ์ที่โดดเด่นด้วยความหลากหลายของฉันทลักษณ์และทำนองเสียงที่แตกต่างจากบทกวีร่วมสมัย เขียนเป็นกลอนแปดและแทรกร่วมกับฉันทลักษณ์อื่น นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโคลงสาร สารโศลก เพลงขอทาน เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงโคราช เป็นเรื่องร่วมสมัยที่ย้อนยุกต์ประวัติศาสตร์มาพรรณาบ้าง เนื้อหาของบทกวีคือการประณามชนชั้นสูง ผู้มีอำนาจในสังคมโดยโยงภาพความทุกข์ทรมานและความแค้นของคนยากจนผู้ด้อยโอกาสกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เข้ามาเปรียบเทียบเชิงอุปมา
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2525
นว ช516ค
ชาติ กอบจิตติ. (2525). คำพิพากษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ต้นหมาก, 279 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายเสนอเรื่องราวแนวคิดของคนมีฐานะเป็นปัจเจกชนที่มักตกเป็นเหยื่อของความเชื่อและคำพิพากษาของสังคม ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม ส่งผลให้บุคคลนั้นต้องอ้างว้าง โดดเดี่ยว ทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้เขียนได้สร้างเรื่องราวโดยใช้สังคมชนบทไทยเป็นฉาก มีตัวละครชื่อฟักเป็นตัวเอกของการดำเนินชีวิต ปัญหารุมเร้าฟักมากมายจนดิ้นไม่หลุด เขาพยายามต่อสู้เมื่อไม่มีทางออก จึงหนีจากโลกของความเป็นจริงสร้างโลกใหม่ที่เขาหลงคิดว่าเป็นหนทางออกไปสู่อิสรภาพ ท้ายสุดเขาได้รับอิสรภาพที่แท้จริงนั่นคือ ความตาย
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2524
รส อ579ข
อัศศิริ ธรรมโชติ. (2530). ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ก.ไก่, 189 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นทั้งหมด 13 เรื่อง ผู้เขียนได้รับแรงกระตุ้นจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เป็นช่วงที่มีการประกาศเรียกร้องให้ผู้ที่หลบหนีเข้าป่ากลับมารายงานตัว เน้นให้คนสำนึกในเรื่องของภูมิหลังทางประวัติศาสตรและสังคม เนื้อหาส่วนใหญ่มีแนวทางวรรณกรรมเพื่อชีวิต ความกดดันและความขัดแย้งทางการเมือง
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2523
808.81 น836พ
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2523). เพียงความเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ : ก.ไก่, 96 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นกวีนิพนธ์รวมบทร้อยกรองที่ตีพิมพ์ในวารสารและหนังสือพิมพ์ในช่วงปีพ.ศ. 2516 เนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 256 ซึ่งเป็นขบวนการนักศึกษาประชาชนได้เรียกร้องรัฐธรรมนูญและขยายตัวเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมด้านต่างๆ ของสังคมเป็นบทกวีที่อ่านเข้าใจง่าย การใช้ถ้อยคำเร่งเร้าให้ตื่นตัวและเกิดความเคลื่อนไหวทางความคิด บางเรื่องเล่าชีวิตชนบท บางเรื่องว่าด้วยสงคราม บางเรื่องแสดงออกถึงอารมณ์ แนวคิด และทัศนคติต่อสังคม
|
|
ปีที่ได้รับรางวัล | 2522
นว ค371ล
คำพูน บุญทวี. (2523). ลูกอีสาน. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 290 หน้า.
บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอีสานเล่าเรื่องราวขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อของชาวอีสาน โดยผ่านเด็กชายคูน รวมไปถึงสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้คนและสภาพแวดล้อมและแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติด้วยความมานะบากบั่น ความเคารพในระบบอาวุโส และความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะของชาวอีสาน
|